การประมวลผลข้อมูล
คอมพิวเตอร์อาศัยอุปกรณ์ 4 ส่วนหลักในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่
1. อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input devices)
2.อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูล (Processor / Central Processing Unit:CPU)
3.อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output devices)
4.อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Storage) ซึ่งสามารถอธิบายขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลได้ดังนี้
1. การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) User ทำการป้อนข้อมูล (Input data) เข้าสู่ระบบ โดยอาศัย อุปกรณ์ Input device
2.การประมวลผลข้อมูล (Process) : เครื่องเริ่มทำการประมวลผล โดยข้อมูลที่ User นำเข้า มาจะส่งไปเก็บในหน่วยความจำหลัก (Memory :RAM) จากนั้น Control Unit จะควบคุมการไหลของข้อมูลผ่านระบบ Bus system จาก RAM ไปยัง ALU เพื่อให้ทำงานตามคำสั่ง ระหว่างการประมวลผล Register จะคอยเก็บชุดคำสั่งขณะที่ load ข้อมูลอยู่ และ Cache จะคอยดักชุดคำสั่งที่ CPU เรียกใช้บ่อย ๆ และคอยจัดเตรียมข้อมูลหรือชุดคำสั่งเหล่านั้นเพื่อเอื้อให้ CPU ประมวลผลข้อมูลได้เร็วขึ้น ซึ่งการประมวลผลของเครื่องนี้จะทำงานตามรอบสัญญาณนาฬิกาของเครื่อง (Machine cycle) Note: Machine cycle หมายถึง รอบเวลาที่ใช้ในการประมวลผลชุดคำสั่งของเครื่องต่อรอบสัญญาณนาฬิกา เป็นเวลาที่ร้องขอการทำงาน เช่น การเรียก (Load) ข้อมูล, การประมวลผล (Execute) และการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งใน Machine cycle จะประกอบด้วย 2 ช่วงจังหวะการทำงาน ได้แก่ 1.Instruction time ( I-time) หมายถึง ช่วงเวลาที่ Control unit รับคำสั่ง (Fetch) จาก memory และนำคำสั่งนั้นใส่ลงไปใน register จากนั้น Control unit จะทำการถอดรหัสชุดคำสั่งและพิจารณาที่อยู่ของข้อมูลที่ต้องการ 2. Execution time หมายถึง ช่วงเวลาที่ Control unit จะย้ายข้อมูลจาก memory ไปยัง registers และส่งข้อมูลให้ ALU ทำงานตามคำสั่งนั้น เมื่อ ALU ทำงานเสร็จ Control unit จะเก็บผลลัพธ์ไว้ใน memory ก่อนส่งไปแสดงผลที่ Monitor หรือ Printer 3. การแสดงผลข้อมูล (Output) หลังจาก CPU ประมวลผลเสร็จเรียบร้อย Control Unit จะ ควบคุมการไหลของข้อมูลผ่านBus system เพื่อส่งมอบ (Transfer) ข้อมูลจาก CPU ไปยังหน่วยความจำ จากนั้นส่งข้อมูลออกไปแสดงผลที่ Output device (หากคุณใช้ Card เพิ่มความเร็วในการแสดงผลของจอภาพ ก็จะส่งผลต่อความเร็วของระบบได้เช่นกัน) ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล (Data) เรียกว่า ข่าวสารหรือสารสนเทศ (Information) 4.การจัดเก็บข้อมูล (Storage) หน่วยจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหมายถึงสื่อจัดเก็บสำรอง เช่น Harddisk Diskette หรือCD ทำงาน 2 ลักษณะ คือ 1 ) การ Load ข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล ถ้าข้อมูลถูกจัดเก็บอยู่ใน Harddisk แล้ว คุณต้องการ Load ข้อมูลขึ้นมาแก้ไขหรือประมวลผล ข้อมูลที่ถูก Load และนำไปเก็บในหน่วยความจำ (Memory:RAM) จากนั้นส่งไปให้ CPU 2 ) การเก็บข้อมูลเมื่อประมวลผลเสร็จ เมื่อ CPU ประมวลผลข้อมูลเสร็จ ข้อมูลนั้น จะถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำ (Memory:RAM) ซึ่ง RAM จะเก็บข้อมูลเพียงชั่วขณะที่เปิดเครื่อง (Power On) เมื่อไรที่คุณปิดเครื่อง โดยที่ยังไม่สั่งบันทึกข้อมูล (Save) ข้อมูลก็จะหาย (Loss) ดังนั้นหาก User ต้องการจัดเก็บข้อมูลเพื่อไว้ใช้งานในครั้งต่อไปจะต้องสั่งบันทึก โดยใช้คำสั่ง Save ไฟล์ข้อมูลก็จะถูกนำไปเก็บในสื่อจัดเก็บสำรอง ได้แก่ Diskette Harddisk CD หรือ Thumb Drive แล้วแต่ว่าคุณจะเลือก Save ไว้ในสื่อชนิดใด SSD (Solid State Drive) SSD (Solid State Drive) เป็นเทคโนโลยีใหม่ในการประยุกต์ใช้ Flash Memory มาทำเป็น Harddisk ประโยชน์ที่ได้รับที่เห็นกันอยู่ ก็จะพบว่า ความไวในการ เข้าถึงข้อมูลจะทำได้ไวกว่า Harddisk ที่ใช้กันอยู่ในท้องตลาดซึ่งเป็น Harddisk แบบที่ใช้จานแม่เหล็ก ที่เวลาเข้าถึงข้อมูลจะต้องให้ Harddisk หมุนไปแล้วจึงหาสืบค้นข้อมูลที่ถูกเก็บใน harddisk ได้ โดยวิธีนี้ทำให้ เกิดความร้อนขึ้น ในตัวของ Harddisk เอง ยิ่งมีความไวของมอเตอร์ ที่ใช้ในการหมุนตัว จานแม่เหล็ก มากเท่าไรก็จะ ทำให้ มีความร้อนสูงมากขึ้นด้วย ดังนั้นการออกแบบจึงต้องมีการเพิ่ม พื้นที่ในการระบายความร้อนให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดเสถียรภาพในการทำงานของ Server ได้ การพัฒนาเทคโนโลยีของ Harddisk นั้นก็ พัฒนา มาหลายปี แต่ยังคงเป็นเทคโนโลยี่ที่ใช้มอเตอร์และจานแม่เหล็ก จนถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านนี้โดยการนำ meomory หรือ การนำ Solid State มาทำเป็น Harddisk ด้วยเหตุผลที่ว่า การเข้าถึงข้อมูล การเขียนข้อมูล ลงไปบนตัว Harddisk การคำนึงถึงความร้อนที่เกิดขึ้นบนตัว Harddisk เสียงที่เกิดจากการหมุนของมอเตอร์บนตัว Harddisk ดังนั้น ปัญหาพวกนี้จะหมดไปถ้าเรานำเทคโนโลยี Solid State มาใช้ ถ้านำไปใส่ใน Notebook จะช่วยทำให้ ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ Notebook ทำงานได้ดีขึ้น เพราะจะกินพลังงานต่ำ เมื่อเทียบกับ harddisk แบบเดิม การทำงานของมันก็คือ Memory แบบ Flash เมื่อมีการอ่านหรือ เขียนข้อมูล ก็จะยังจดจำข้อมูลที่มีการ Update ครั้งสุดท้ายไว้ได้ ซึ่งจะแตกต่างกับ RAM (Random Access Memory) ซึ่งข้อมูลจะหายไปเมื่อเราปิดเครื่องหรือ ไม่มีแหล่งจ่ายไฟเลื้ยงตัวอุปกรณ์ ข้อมูลที่บรรจุอยู่ด้านในก็จะหายไปด้วย แต่ Flash Memory ไม่ใช่อย่างนั้น เมื่อเราทำการ เขียนข้อมูลลงไปที่ Flash Memory แล้ว ข้อมูลเหล่านั้นไม่ได้สูญหายไปไหน ยังคงเก็บเอาไว้ เหมือนต้นฉบับทุกประการ ดังนั้นจึงมีคนนำเทคโนโลยี่นี้มาต่อยอด และพัฒนา มาเป็น Solid State Drive (SSD) ในที่สุด ไม่มีส่วนที่เคลื่อนไหวเหมือนกับ Harddisk จานแม่เหล็ก เพราะใช้ Flash เป็นตัว จัดเก็บข้อมุล หากศึกษาจากวิดีโอด้านล่าง จะเห็นความแตกต่างของ SSD กับ HDD อย่างเห็นชัดเจน ข้อดีของ Solid State Drive (SSD) 1. ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลไวกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ Harddisk ที่เราใช้กันในปัจจุบัน 2. ไม่เปลืองพลังงานไฟฟ้า 3. ไม่มีเสียงดัง เนื่องจากเก็บข้อมูลด้วย Flash Memory ดังนั้นจึงไม่มีชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนที่ 4. ไม่มีความร้อน 5. สามารถตกจากที่สูงได้ ในขณะที่ข้อมูลด้านในไม่เป็นอะไรเลย เมื่อเปรียบเทียบกับ Harddisk แบบที่เราใช้การกันใจปัจจุบัน (สามารถกระแทกได้) 6. ความไวในการ Boot เครื่อง ข้อเสียของ Soild State Drive(SSD) 1. การเขียนข้อมูลจะช้า เพราะมันคือ Flash การเขียนของมันจะต้องทำการ เพิ่มกำลังไฟฟ้าให้สูงขึ้นพอที่จะทำให้ข้อมูลใหม่เพิ่มเข้าไปได้ 2. ราคาค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับ Harddisk แบบที่เราใช้กันในปัจจุบัน 3. ความจุ (เนื้อที่) น้อยเพราะปัจจุบันสายการผลิต มีอยู่ 3 ขนาดคือ 64, 128 และสูงสุดอยู่ที่ 256 GB ที่มา:www.howstuffworks.com/operation-system.htm จะเห็นได้ว่าหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์มีการจัด โครงสร้างเป็นแบบลำดับชั้น ซึ่งชั้นสูงสุดและอยู่ใกล้กับโปรเซสเซอร์มากที่คือ รีจีสเตอร์(Register)ที่อยู่ภายในโปรเซสเซอร์ จากนั้นลงมาก็เป็นหน่วยความจำแคช (Cache) หนึ่งหรือสองระดับ ซึ่งถ้ามีหลายระดับมักจะเรียกว่า Cache ระดับ L1, L2,… จาก นั้นจึงเป็นหน่วยความจำหลักซึ่งมักจะสร้างมาจาก DRAM (Dynamic Random Access Memory) ซึ่งหน่วยความจำที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จัดว่าเป็นส่วนที่อยู่ภายในเครื่อง คอมพิวเตอร์ และเป็นแบบโวลาไทล์ (Volatile) คือ ข้อมูลจะหายไปเมื่อไม่มีไฟเลี้ยง และโครงสร้างลำดับชั้นยังขยายต่อออกไปที่หน่วยความจำภายนอกเครื่อง คอมพิวเตอร์ ซึ่งมักจะหมายถึงอุปกรณ์ไอโอที่มีความเร็วสูง เช่น ฮาร์ดดิสก์ นอกเหนือจากนี้ได้แก่ อุปกรณ์ ZIP อุปกรณ์อ็อพติก และเทปแม่เหล็ก เป็นต้นตำแหน่งการอ้างอิงข้อมูลในหน่วยความจำหลักโดยโปรเซสเซอร์นั้น มักจะเป็นตำแหน่งเดิม ดังนั้นหน่วยความจำ Cache มักจะคัดลอกข้อมูลในหน่วยความจำหลักที่เคยถูกอ้างอิงไปแล้วเอาไว้ ซึ่งถ้าการทำงานของ Cache ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนใหญ่โปรเซสเซอร์ก็จะเรียกใช้ข้อมูลที่อยู่ใน Cache เป็นส่วนมาก แม้ว่าโดยหลักการแล้วดูจะเป็นเรื่องง่าย แต่หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ได้แสดงให้เห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งที่อาจจะมี จำนวนชนิด เทคโนโลยี โครงสร้าง ประสิทธิภาพ และราคากว้างมากที่สุด ไม่มีเทคโนโลยีใดทีจะสามารถตอบสนองความต้องการหน่วยความจำของเครื่อง คอมพิวเตอร์ได้ดีที่สุด เมื่อเห็นและรู้จักโครงสร้างลำดับชั้นของหน่วยความจำกันแล้ว เราก็มาทำความรู้จักแต่ละส่วนว่ามันมีความแตกต่างกันอย่างไรในเรื่องของขนาด หรือความจุ ความเร็ว และราคา โดยเริ่มกันที่ รีจิสเตอร์ (Register) ถือว่าเป็นหน่วยความจำที่มีความจุน้อยสุด มีความเร็วสูงสุด และมีราคาแพงสุด โดยมันถูกสร้างเป็นส่วนหนึ่งของชิปหน่วยประมวลผลกลาง โดยอยู่ที่ตำแหน่งบนสุดในลำดับชั้นบนสุดของหน่วยความจำ ใช้เก็บข้อมูลเข้าและผลลัพธ์ตามที่ระบุไว้ในแต่ละคำสั่งของชุดคำสั่งของ หน่วยประมวลผลกลาง ตัวอย่างเช่น - รีจิสเตอร์ที่ใช้เห็นค่าตัวเลยที่เป็นจำนวนต็ม (data registers) - รีจิสเตอร์ที่ช้เก็บตำแหน่งต่างๆ ของหน่วยความจำ (address registers) - รีจิสเตอร์ที่ใช้เก็บค่าคงที่ (cinstant registers) ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว - รีจิสเตอร์ที่มีหน้าที่เฉพาะอย่าง (special purpose registers) เช่น program counter ที่มีหน้าที่เก็บตำแหน่งของคำสั่งถัดไปที่ต้องประมวลผลและสแต็คพ้อยท์เตอร์ ที่มีหน้าที่เก็บตำแหน่งของข้อมูลล่าสุดในสแต็ค แคช (Cache) หน่วยความจำ Cache สร้างขึ้นมาเพื่อที่จะให้เป็นหน่วยความจำที่ทำงานได้เร็วทีสุด โดยปกติแล้วจะทำหน้าที่เก็บสำเนาข้อมูลบางส่วนในหน่วยความจำหลักเอาไว้ วิวัฒนาการของการพัฒนาหน่วยความจำ Cache สามารถเห็นได้ชัดเจนจากวิวัฒนาการของไมโครโปรเซสเซอร์จากบริษัท Intel เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้น ช่วยให้สามารถใส่ Cache เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ ชิ พโปรเซสเซอร์ได้ ซึ่งเรียกว่า on-chip cache เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันมีการนำ Cache มาใช้งานร่วมกัน และเรียกโครงสร้างประเภทนี้ว่า Cache 2 ระดับ โดย Cache ระดับที่ 1(L1) หมายถึง on-chip cache Cache ระดับที่ 2(L2) หมายถึง Cache ภายนอก เหตุผลที่ต้องมี L2 Cache เนื่อง จากถ้าหากโปรเซสเซอร์ไม่สามารถหาข้อมูลได้จาก L1 Cache ข้อมูลส่วนหนึ่งจะถูกพบที่นี่ ซึ่งช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นรวดเร็วกว่าการเข้าถึงหน่วยความจำหลักโดย ตรง โดยเฉพาะถ้าชิพที่นำมาสร้าง L2 Cache เป็นแบบ SRAM ที่มีความเร็วเท่ากับบัสแล้ว ข้อมูลในนี้จะถูกนำส่งโปรเซสเซอร์ได้โดยไม่มีการรอจังหวะสัญาณนาฬิกา (zero-wait state transaction) เกิดขึ้นเลยซึ่งเป็น L2 Cache ชนิดที่เร็วที่สุด ซีพียูรุ่น 8086 เป็นซีพียูของอินเทลที่ทำงานแบบ 16 บิตแบบสมบูรณ์ เพราะทั้งสถาปัตยกรรม ภายในและภายนอกเป็นแบบ 16 บิตอย่างแท้จริง ต่างจาก 8088 ที่สถาปัตยกรรมภายในเป็น ระบบประมวลผลแบบ 16 บิต แต่สถาปัตยกรรมภายนอกที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับดาต้าบัส เพื่อ รับส่งข้อมูลเป็นแบบ 8 บิต บิต (bit) คำศัพท์ตัวแรกที่จะแนะนำให้รู้จักก็คือคำว่า บิต โดยบิตเป็นหน่ายที่เล็กที่สุดในจำนวนหน่วยที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้หลักการง่าย ๆ ด้วยเลขดิจิตอลเพียง 2 หลัก ไบต์ (Byte) เป็นหน่วยอีกเช่นกัน แต่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อย โดย 1 ไบต์ จะประกอบด้วย 8 บิต ซึ่งจะแทนตัวอักษร 1 ตัว ซึ่งเวลาคุณใช้เครื่องก็มักจะพบคำนี้บ่อย ๆ เฃ่นขนาดไฟล์ขนาด 800 ไบต์ ซึ่งหน่วยตัวนี้ใช้บอกขนาดความใหญ่ของข้อมูลได้ กิโลไบต์ (Kilobyte :KB) เป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้นมาอีกระดับ ซึ่ง 1 กิโลไบต์เท่ากับ 1024 ไบต์ หน่วยตัวนี้ก็ใช้บอกความใหญ่ของไฟล์ข้อมูลได้เหมือนกัน เช่นไฟล์ขนาด 1 กิโลไบต์ ก็เท่ากับ 1024 ไบต์ เมกกะไบต์ (Megabyte : MB) สำหรับคำนี้หลายคนคงคุ้นเคยการใช้หน่วยของฮาร์ดดิสก์รุ่นเก่า ๆ มาบ้างแล้ว โดย 1 เมกกะไบต์ จะเท่ากับ 1024 กิโลไบต์ หรือ 1,048,576 ไบต์ หรือในบางครั่งที่คุณต้องการซื้อแผ่นดิสกืมาใช้ ก็จะต้องเห็นคำว่า 1.44 MB. ซึ่งก็คือความจุสูงสุดที่แผ่นรับได้ กิกะไบต์ (Gigabyte : GB) สำหรับหน่วยความจุนี้เป็นหน่วยที่ใช้กันมากในปัจจุบัน เพราะใครที่ต้องการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ คงต้องถามว่า ฮาร์ดดิสก์ 40-80 GB หรือเปล่า แล้วใครรู้บ้างว่า ฮาร์ดดิสก์ 40 GB มีขนาดเท่าไร ขนาด 1 กิกะไบต์ นั้นจะเท่ากับ 1,073,741,824 ไบต์ หรือ 1024 แล้ว กิโลไบต์ แล้ว 40 GB นั้นจะเท่ากับ ???? ไบต์ จำนวนของขา cpu หน่วยวัดความเร็วซีพียูที่ควรรู้ ความเร็วในการทำงานของซีพียูนี้จะวัดกันในหน่วยเมกะเฮิรตซ์ (MHz = ล้วนรอนต่อวินาที) อย่างเช่น Duron 950 MHz , Pentium 4 2.0 GHz เป็นต้น ซึ่งมีความหมายดังนี้ ในส่วนของ เมกะ จะแทนด้วยตัวอักษร M ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 1,000,000 และในส่วนของเฮิรตซ์ จะแทนด้วยอักษร Hz ที่หลายคนเคยผ่านตามาบ้างแล้ว - 1 MHz (Mega Hearz) = 1,000,000 Hz หรือ 1 ล้านเฮิรตซ์ - 1 GHz (Gega Hearz) = 1,000,000,000 Hz หรือ 1 พันล้านเฮิรตซ์ ความหมายนี้ เป็นอย่างเดียวกัน คือใช้สำหรับขนส่งสิ่งที่ต้องการขนส่งจากจุดหนึ่ง ไปยัง อีกจุดหนึ่ง โดยนัยแล้ว สิ่งที่ขนส่งก็คือ " สัญญานไฟฟ้า " หรือ เรียกง่ายๆ ว่า " ข้อมูล " นั่นเอง. แล้ว BUS ในระบบคอมพิวเตอร์ หน้าตามันเป็นอย่างไร ? ก็ เมื่อ BUS มีหน้าที่ในการขนส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือสัญญานไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้น BUS ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราๆ ก็คือ เส้นโลหะตัวนำสัญญานไฟฟ้ามักเป็น " ทองแดง " ที่อยู่บนแผ่นวงจรพิมพ์ต่างๆ เช่น Mainboard เป็นต้น ที่เราเห็นเป็นลายเส้น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เป็นแถบๆ หลายๆ เส้น บ้าง หรือ เป็นเส้นเดี่ยวๆ บ้าง และ BUS มีการทำงานที่สลับซับซ้อนพอสมควรจึงมักเรียกว่า " ระบบบัส " หรือ " BUS SYSTEM " แล้ว BUS แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ? โดยทั่วไป ระบบบัส ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท กล่าวคือ 1. ADDRESS BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับแจ้งตำแหน่งหรือ ระบุตำแหน่งที่อยู่ ในระบบคอมพิวเตอร์ 2. CONTROL BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับส่งการควบคุม ไปยังส่วนต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ 3. DATA BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับการส่งข้อมูลไปยังตำแหน่งที่ระบุโดย Address bus และ ถูกควบคุมโดย Control bus หมาย เหตุ : แล้ว FSB : Front Side Bus คืออะไร ? คำว่า Front Side Bus หรือ FSB เป็นคำที่ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อใช้สำหรับการกำหนดความเร็วในการทำงานระหว่าง CPU กับ RAM โดยตรง ซึ่งโดยปกติการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์นั้น CPU จะทำงานโดยอาศัยหน่วยความจำ ( RAM ) เป็นเสมือนหนึ่ง " โต๊ะทำงาน " และ " ถังพักข้อมูล " ในการทำงาน เมื่อ CPU มีความเร็วในการทำงานที่สูง เมื่อสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรงกับ หน่วยความจำที่เป็น RAM จึงแทบไม่ต้องอยู่ในสถานะที่รอคอย ( Wait State ) ข้อมูลในการทำงานมากเหมือนการติดต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ดังนั้นจึงมีการออกแบบและกำหนดสถาปัตยกรรมของการเข้าถึงข้อมูลในหน่วยความจำ ( RAM ) เพื่อความรวดเร็วในการทำงานระหว่าง CPU กับ RAM โดยตรงให้มีความเร็วที่สูงที่สุดเท่าที่ หน่วยความจำนั้นๆ จะตอบสนองการทำงานได้ จึงได้เห็นหน่วยความจำที่มีความเร็วขนาดต่างๆ เช่น FSB266 , FSB333 , FSB400 , FSB533 , FSB667 , FSB800 , FSB1066 เป็นต้น โดยการเลือกความเร็วระดับต่างๆ จำเป็นต้องสอดคล้องกับ CPU ที่ใช้ และ Mainboard ที่ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบคอมพิวเตอร์ในด้านความเร็วในการประมวลผล และ คุณจะสังเกตุเห็นได้ว่า Socket สำหรับติดตั้ง หน่วยความจำ ( RAM ) บนเมนบอร์ดนั้นจะอยู่ใกล้กับ CPU มาก และ จาก CPU จะมีช่องทางการต่อเชื่อมถึงหน่วยความจำ ( RAM ) โดยผ่านเส้นลวดตัวนำสัญญานที่สั้นมากนั่นเอง แล้ว BUS ทำงานอย่างไร ? เมื่อ BUS เป็นเส้นทางการส่งข้อมูลที่เป็นสัญญานไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา ดังนั้นก็จะมี วงจร สำหรับควบคุมการทำงานของระบบ BUS เรียกว่า BUS Controller ซึ่งในอดีต มี Chip IC ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรงแยกออกไป ในปัจจุบัน ได้มีการ รวมวงจรควบคุม BUS นี้เข้าไว้ใน North Bridge Chip โดยที่วงจรควบคุมระบบ BUS นี้จะทำหน้าที่ จัดช่องสัญญานประเภทต่างๆให้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ บนเมนบอร์ดให้กับอุปกรณ์ที่ร้องขอใช้งาน เช่น CPU , อุปกรณ์ I/O , Port ต่างๆ เป็นต้น อีกนัยหนึ่งของ BUS มีเรียกขานกันในเรื่องเกี่ยวกับเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) โดยมีความหมายว่า เป็นสถาปัตยกรรมการต่อเชื่อมเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง โดยมีแนวเส้นหลัก ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็น " ถนนสายหลัก " ที่ใช้สำหรับ " เดินทาง " หรือ " ขนส่งข้อมูล " และ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับระบบ BUS Network นี้ เป็นเสมือนหนึ่ง " บ้าน " ที่อยู่ใน " ถนนย่อย " ที่แยกออกจากถนนหลัก โดยที่ " ถนนย่อย " ที่แยกแต่ละถนนนั้น จะมี " เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ บ้าน " เพียงหลังเดียวอยู่ที่ปลายถนนย่อยแต่ละเส้น นั่นเอง โดยที่จุดแยกเข้าถนนย่อยนั้น จะมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ " แยกสัญญาน " หรือ " พ่วงสัญญาน " ที่เรียกว่า MAC ( Media Access Connector ) เป็นตัวเชื่อมต่อและแยกสัญญานให้ แห่งเวป http://www.expert2you.com/
1. อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input devices)
2.อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูล (Processor / Central Processing Unit:CPU)
3.อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output devices)
4.อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Storage) ซึ่งสามารถอธิบายขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลได้ดังนี้
1. การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) User ทำการป้อนข้อมูล (Input data) เข้าสู่ระบบ โดยอาศัย อุปกรณ์ Input device
2.การประมวลผลข้อมูล (Process) : เครื่องเริ่มทำการประมวลผล โดยข้อมูลที่ User นำเข้า มาจะส่งไปเก็บในหน่วยความจำหลัก (Memory :RAM) จากนั้น Control Unit จะควบคุมการไหลของข้อมูลผ่านระบบ Bus system จาก RAM ไปยัง ALU เพื่อให้ทำงานตามคำสั่ง ระหว่างการประมวลผล Register จะคอยเก็บชุดคำสั่งขณะที่ load ข้อมูลอยู่ และ Cache จะคอยดักชุดคำสั่งที่ CPU เรียกใช้บ่อย ๆ และคอยจัดเตรียมข้อมูลหรือชุดคำสั่งเหล่านั้นเพื่อเอื้อให้ CPU ประมวลผลข้อมูลได้เร็วขึ้น ซึ่งการประมวลผลของเครื่องนี้จะทำงานตามรอบสัญญาณนาฬิกาของเครื่อง (Machine cycle) Note: Machine cycle หมายถึง รอบเวลาที่ใช้ในการประมวลผลชุดคำสั่งของเครื่องต่อรอบสัญญาณนาฬิกา เป็นเวลาที่ร้องขอการทำงาน เช่น การเรียก (Load) ข้อมูล, การประมวลผล (Execute) และการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งใน Machine cycle จะประกอบด้วย 2 ช่วงจังหวะการทำงาน ได้แก่ 1.Instruction time ( I-time) หมายถึง ช่วงเวลาที่ Control unit รับคำสั่ง (Fetch) จาก memory และนำคำสั่งนั้นใส่ลงไปใน register จากนั้น Control unit จะทำการถอดรหัสชุดคำสั่งและพิจารณาที่อยู่ของข้อมูลที่ต้องการ 2. Execution time หมายถึง ช่วงเวลาที่ Control unit จะย้ายข้อมูลจาก memory ไปยัง registers และส่งข้อมูลให้ ALU ทำงานตามคำสั่งนั้น เมื่อ ALU ทำงานเสร็จ Control unit จะเก็บผลลัพธ์ไว้ใน memory ก่อนส่งไปแสดงผลที่ Monitor หรือ Printer 3. การแสดงผลข้อมูล (Output) หลังจาก CPU ประมวลผลเสร็จเรียบร้อย Control Unit จะ ควบคุมการไหลของข้อมูลผ่านBus system เพื่อส่งมอบ (Transfer) ข้อมูลจาก CPU ไปยังหน่วยความจำ จากนั้นส่งข้อมูลออกไปแสดงผลที่ Output device (หากคุณใช้ Card เพิ่มความเร็วในการแสดงผลของจอภาพ ก็จะส่งผลต่อความเร็วของระบบได้เช่นกัน) ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล (Data) เรียกว่า ข่าวสารหรือสารสนเทศ (Information) 4.การจัดเก็บข้อมูล (Storage) หน่วยจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหมายถึงสื่อจัดเก็บสำรอง เช่น Harddisk Diskette หรือCD ทำงาน 2 ลักษณะ คือ 1 ) การ Load ข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล ถ้าข้อมูลถูกจัดเก็บอยู่ใน Harddisk แล้ว คุณต้องการ Load ข้อมูลขึ้นมาแก้ไขหรือประมวลผล ข้อมูลที่ถูก Load และนำไปเก็บในหน่วยความจำ (Memory:RAM) จากนั้นส่งไปให้ CPU 2 ) การเก็บข้อมูลเมื่อประมวลผลเสร็จ เมื่อ CPU ประมวลผลข้อมูลเสร็จ ข้อมูลนั้น จะถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำ (Memory:RAM) ซึ่ง RAM จะเก็บข้อมูลเพียงชั่วขณะที่เปิดเครื่อง (Power On) เมื่อไรที่คุณปิดเครื่อง โดยที่ยังไม่สั่งบันทึกข้อมูล (Save) ข้อมูลก็จะหาย (Loss) ดังนั้นหาก User ต้องการจัดเก็บข้อมูลเพื่อไว้ใช้งานในครั้งต่อไปจะต้องสั่งบันทึก โดยใช้คำสั่ง Save ไฟล์ข้อมูลก็จะถูกนำไปเก็บในสื่อจัดเก็บสำรอง ได้แก่ Diskette Harddisk CD หรือ Thumb Drive แล้วแต่ว่าคุณจะเลือก Save ไว้ในสื่อชนิดใด SSD (Solid State Drive) SSD (Solid State Drive) เป็นเทคโนโลยีใหม่ในการประยุกต์ใช้ Flash Memory มาทำเป็น Harddisk ประโยชน์ที่ได้รับที่เห็นกันอยู่ ก็จะพบว่า ความไวในการ เข้าถึงข้อมูลจะทำได้ไวกว่า Harddisk ที่ใช้กันอยู่ในท้องตลาดซึ่งเป็น Harddisk แบบที่ใช้จานแม่เหล็ก ที่เวลาเข้าถึงข้อมูลจะต้องให้ Harddisk หมุนไปแล้วจึงหาสืบค้นข้อมูลที่ถูกเก็บใน harddisk ได้ โดยวิธีนี้ทำให้ เกิดความร้อนขึ้น ในตัวของ Harddisk เอง ยิ่งมีความไวของมอเตอร์ ที่ใช้ในการหมุนตัว จานแม่เหล็ก มากเท่าไรก็จะ ทำให้ มีความร้อนสูงมากขึ้นด้วย ดังนั้นการออกแบบจึงต้องมีการเพิ่ม พื้นที่ในการระบายความร้อนให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดเสถียรภาพในการทำงานของ Server ได้ การพัฒนาเทคโนโลยีของ Harddisk นั้นก็ พัฒนา มาหลายปี แต่ยังคงเป็นเทคโนโลยี่ที่ใช้มอเตอร์และจานแม่เหล็ก จนถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านนี้โดยการนำ meomory หรือ การนำ Solid State มาทำเป็น Harddisk ด้วยเหตุผลที่ว่า การเข้าถึงข้อมูล การเขียนข้อมูล ลงไปบนตัว Harddisk การคำนึงถึงความร้อนที่เกิดขึ้นบนตัว Harddisk เสียงที่เกิดจากการหมุนของมอเตอร์บนตัว Harddisk ดังนั้น ปัญหาพวกนี้จะหมดไปถ้าเรานำเทคโนโลยี Solid State มาใช้ ถ้านำไปใส่ใน Notebook จะช่วยทำให้ ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ Notebook ทำงานได้ดีขึ้น เพราะจะกินพลังงานต่ำ เมื่อเทียบกับ harddisk แบบเดิม การทำงานของมันก็คือ Memory แบบ Flash เมื่อมีการอ่านหรือ เขียนข้อมูล ก็จะยังจดจำข้อมูลที่มีการ Update ครั้งสุดท้ายไว้ได้ ซึ่งจะแตกต่างกับ RAM (Random Access Memory) ซึ่งข้อมูลจะหายไปเมื่อเราปิดเครื่องหรือ ไม่มีแหล่งจ่ายไฟเลื้ยงตัวอุปกรณ์ ข้อมูลที่บรรจุอยู่ด้านในก็จะหายไปด้วย แต่ Flash Memory ไม่ใช่อย่างนั้น เมื่อเราทำการ เขียนข้อมูลลงไปที่ Flash Memory แล้ว ข้อมูลเหล่านั้นไม่ได้สูญหายไปไหน ยังคงเก็บเอาไว้ เหมือนต้นฉบับทุกประการ ดังนั้นจึงมีคนนำเทคโนโลยี่นี้มาต่อยอด และพัฒนา มาเป็น Solid State Drive (SSD) ในที่สุด ไม่มีส่วนที่เคลื่อนไหวเหมือนกับ Harddisk จานแม่เหล็ก เพราะใช้ Flash เป็นตัว จัดเก็บข้อมุล หากศึกษาจากวิดีโอด้านล่าง จะเห็นความแตกต่างของ SSD กับ HDD อย่างเห็นชัดเจน ข้อดีของ Solid State Drive (SSD) 1. ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลไวกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ Harddisk ที่เราใช้กันในปัจจุบัน 2. ไม่เปลืองพลังงานไฟฟ้า 3. ไม่มีเสียงดัง เนื่องจากเก็บข้อมูลด้วย Flash Memory ดังนั้นจึงไม่มีชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนที่ 4. ไม่มีความร้อน 5. สามารถตกจากที่สูงได้ ในขณะที่ข้อมูลด้านในไม่เป็นอะไรเลย เมื่อเปรียบเทียบกับ Harddisk แบบที่เราใช้การกันใจปัจจุบัน (สามารถกระแทกได้) 6. ความไวในการ Boot เครื่อง ข้อเสียของ Soild State Drive(SSD) 1. การเขียนข้อมูลจะช้า เพราะมันคือ Flash การเขียนของมันจะต้องทำการ เพิ่มกำลังไฟฟ้าให้สูงขึ้นพอที่จะทำให้ข้อมูลใหม่เพิ่มเข้าไปได้ 2. ราคาค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับ Harddisk แบบที่เราใช้กันในปัจจุบัน 3. ความจุ (เนื้อที่) น้อยเพราะปัจจุบันสายการผลิต มีอยู่ 3 ขนาดคือ 64, 128 และสูงสุดอยู่ที่ 256 GB ที่มา:www.howstuffworks.com/operation-system.htm จะเห็นได้ว่าหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์มีการจัด โครงสร้างเป็นแบบลำดับชั้น ซึ่งชั้นสูงสุดและอยู่ใกล้กับโปรเซสเซอร์มากที่คือ รีจีสเตอร์(Register)ที่อยู่ภายในโปรเซสเซอร์ จากนั้นลงมาก็เป็นหน่วยความจำแคช (Cache) หนึ่งหรือสองระดับ ซึ่งถ้ามีหลายระดับมักจะเรียกว่า Cache ระดับ L1, L2,… จาก นั้นจึงเป็นหน่วยความจำหลักซึ่งมักจะสร้างมาจาก DRAM (Dynamic Random Access Memory) ซึ่งหน่วยความจำที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จัดว่าเป็นส่วนที่อยู่ภายในเครื่อง คอมพิวเตอร์ และเป็นแบบโวลาไทล์ (Volatile) คือ ข้อมูลจะหายไปเมื่อไม่มีไฟเลี้ยง และโครงสร้างลำดับชั้นยังขยายต่อออกไปที่หน่วยความจำภายนอกเครื่อง คอมพิวเตอร์ ซึ่งมักจะหมายถึงอุปกรณ์ไอโอที่มีความเร็วสูง เช่น ฮาร์ดดิสก์ นอกเหนือจากนี้ได้แก่ อุปกรณ์ ZIP อุปกรณ์อ็อพติก และเทปแม่เหล็ก เป็นต้นตำแหน่งการอ้างอิงข้อมูลในหน่วยความจำหลักโดยโปรเซสเซอร์นั้น มักจะเป็นตำแหน่งเดิม ดังนั้นหน่วยความจำ Cache มักจะคัดลอกข้อมูลในหน่วยความจำหลักที่เคยถูกอ้างอิงไปแล้วเอาไว้ ซึ่งถ้าการทำงานของ Cache ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนใหญ่โปรเซสเซอร์ก็จะเรียกใช้ข้อมูลที่อยู่ใน Cache เป็นส่วนมาก แม้ว่าโดยหลักการแล้วดูจะเป็นเรื่องง่าย แต่หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ได้แสดงให้เห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งที่อาจจะมี จำนวนชนิด เทคโนโลยี โครงสร้าง ประสิทธิภาพ และราคากว้างมากที่สุด ไม่มีเทคโนโลยีใดทีจะสามารถตอบสนองความต้องการหน่วยความจำของเครื่อง คอมพิวเตอร์ได้ดีที่สุด เมื่อเห็นและรู้จักโครงสร้างลำดับชั้นของหน่วยความจำกันแล้ว เราก็มาทำความรู้จักแต่ละส่วนว่ามันมีความแตกต่างกันอย่างไรในเรื่องของขนาด หรือความจุ ความเร็ว และราคา โดยเริ่มกันที่ รีจิสเตอร์ (Register) ถือว่าเป็นหน่วยความจำที่มีความจุน้อยสุด มีความเร็วสูงสุด และมีราคาแพงสุด โดยมันถูกสร้างเป็นส่วนหนึ่งของชิปหน่วยประมวลผลกลาง โดยอยู่ที่ตำแหน่งบนสุดในลำดับชั้นบนสุดของหน่วยความจำ ใช้เก็บข้อมูลเข้าและผลลัพธ์ตามที่ระบุไว้ในแต่ละคำสั่งของชุดคำสั่งของ หน่วยประมวลผลกลาง ตัวอย่างเช่น - รีจิสเตอร์ที่ใช้เห็นค่าตัวเลยที่เป็นจำนวนต็ม (data registers) - รีจิสเตอร์ที่ช้เก็บตำแหน่งต่างๆ ของหน่วยความจำ (address registers) - รีจิสเตอร์ที่ใช้เก็บค่าคงที่ (cinstant registers) ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว - รีจิสเตอร์ที่มีหน้าที่เฉพาะอย่าง (special purpose registers) เช่น program counter ที่มีหน้าที่เก็บตำแหน่งของคำสั่งถัดไปที่ต้องประมวลผลและสแต็คพ้อยท์เตอร์ ที่มีหน้าที่เก็บตำแหน่งของข้อมูลล่าสุดในสแต็ค แคช (Cache) หน่วยความจำ Cache สร้างขึ้นมาเพื่อที่จะให้เป็นหน่วยความจำที่ทำงานได้เร็วทีสุด โดยปกติแล้วจะทำหน้าที่เก็บสำเนาข้อมูลบางส่วนในหน่วยความจำหลักเอาไว้ วิวัฒนาการของการพัฒนาหน่วยความจำ Cache สามารถเห็นได้ชัดเจนจากวิวัฒนาการของไมโครโปรเซสเซอร์จากบริษัท Intel เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้น ช่วยให้สามารถใส่ Cache เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ ชิ พโปรเซสเซอร์ได้ ซึ่งเรียกว่า on-chip cache เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันมีการนำ Cache มาใช้งานร่วมกัน และเรียกโครงสร้างประเภทนี้ว่า Cache 2 ระดับ โดย Cache ระดับที่ 1(L1) หมายถึง on-chip cache Cache ระดับที่ 2(L2) หมายถึง Cache ภายนอก เหตุผลที่ต้องมี L2 Cache เนื่อง จากถ้าหากโปรเซสเซอร์ไม่สามารถหาข้อมูลได้จาก L1 Cache ข้อมูลส่วนหนึ่งจะถูกพบที่นี่ ซึ่งช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นรวดเร็วกว่าการเข้าถึงหน่วยความจำหลักโดย ตรง โดยเฉพาะถ้าชิพที่นำมาสร้าง L2 Cache เป็นแบบ SRAM ที่มีความเร็วเท่ากับบัสแล้ว ข้อมูลในนี้จะถูกนำส่งโปรเซสเซอร์ได้โดยไม่มีการรอจังหวะสัญาณนาฬิกา (zero-wait state transaction) เกิดขึ้นเลยซึ่งเป็น L2 Cache ชนิดที่เร็วที่สุด ซีพียูรุ่น 8086 เป็นซีพียูของอินเทลที่ทำงานแบบ 16 บิตแบบสมบูรณ์ เพราะทั้งสถาปัตยกรรม ภายในและภายนอกเป็นแบบ 16 บิตอย่างแท้จริง ต่างจาก 8088 ที่สถาปัตยกรรมภายในเป็น ระบบประมวลผลแบบ 16 บิต แต่สถาปัตยกรรมภายนอกที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับดาต้าบัส เพื่อ รับส่งข้อมูลเป็นแบบ 8 บิต บิต (bit) คำศัพท์ตัวแรกที่จะแนะนำให้รู้จักก็คือคำว่า บิต โดยบิตเป็นหน่ายที่เล็กที่สุดในจำนวนหน่วยที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้หลักการง่าย ๆ ด้วยเลขดิจิตอลเพียง 2 หลัก ไบต์ (Byte) เป็นหน่วยอีกเช่นกัน แต่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อย โดย 1 ไบต์ จะประกอบด้วย 8 บิต ซึ่งจะแทนตัวอักษร 1 ตัว ซึ่งเวลาคุณใช้เครื่องก็มักจะพบคำนี้บ่อย ๆ เฃ่นขนาดไฟล์ขนาด 800 ไบต์ ซึ่งหน่วยตัวนี้ใช้บอกขนาดความใหญ่ของข้อมูลได้ กิโลไบต์ (Kilobyte :KB) เป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้นมาอีกระดับ ซึ่ง 1 กิโลไบต์เท่ากับ 1024 ไบต์ หน่วยตัวนี้ก็ใช้บอกความใหญ่ของไฟล์ข้อมูลได้เหมือนกัน เช่นไฟล์ขนาด 1 กิโลไบต์ ก็เท่ากับ 1024 ไบต์ เมกกะไบต์ (Megabyte : MB) สำหรับคำนี้หลายคนคงคุ้นเคยการใช้หน่วยของฮาร์ดดิสก์รุ่นเก่า ๆ มาบ้างแล้ว โดย 1 เมกกะไบต์ จะเท่ากับ 1024 กิโลไบต์ หรือ 1,048,576 ไบต์ หรือในบางครั่งที่คุณต้องการซื้อแผ่นดิสกืมาใช้ ก็จะต้องเห็นคำว่า 1.44 MB. ซึ่งก็คือความจุสูงสุดที่แผ่นรับได้ กิกะไบต์ (Gigabyte : GB) สำหรับหน่วยความจุนี้เป็นหน่วยที่ใช้กันมากในปัจจุบัน เพราะใครที่ต้องการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ คงต้องถามว่า ฮาร์ดดิสก์ 40-80 GB หรือเปล่า แล้วใครรู้บ้างว่า ฮาร์ดดิสก์ 40 GB มีขนาดเท่าไร ขนาด 1 กิกะไบต์ นั้นจะเท่ากับ 1,073,741,824 ไบต์ หรือ 1024 แล้ว กิโลไบต์ แล้ว 40 GB นั้นจะเท่ากับ ???? ไบต์ จำนวนของขา cpu หน่วยวัดความเร็วซีพียูที่ควรรู้ ความเร็วในการทำงานของซีพียูนี้จะวัดกันในหน่วยเมกะเฮิรตซ์ (MHz = ล้วนรอนต่อวินาที) อย่างเช่น Duron 950 MHz , Pentium 4 2.0 GHz เป็นต้น ซึ่งมีความหมายดังนี้ ในส่วนของ เมกะ จะแทนด้วยตัวอักษร M ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 1,000,000 และในส่วนของเฮิรตซ์ จะแทนด้วยอักษร Hz ที่หลายคนเคยผ่านตามาบ้างแล้ว - 1 MHz (Mega Hearz) = 1,000,000 Hz หรือ 1 ล้านเฮิรตซ์ - 1 GHz (Gega Hearz) = 1,000,000,000 Hz หรือ 1 พันล้านเฮิรตซ์ ความหมายนี้ เป็นอย่างเดียวกัน คือใช้สำหรับขนส่งสิ่งที่ต้องการขนส่งจากจุดหนึ่ง ไปยัง อีกจุดหนึ่ง โดยนัยแล้ว สิ่งที่ขนส่งก็คือ " สัญญานไฟฟ้า " หรือ เรียกง่ายๆ ว่า " ข้อมูล " นั่นเอง. แล้ว BUS ในระบบคอมพิวเตอร์ หน้าตามันเป็นอย่างไร ? ก็ เมื่อ BUS มีหน้าที่ในการขนส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือสัญญานไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้น BUS ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราๆ ก็คือ เส้นโลหะตัวนำสัญญานไฟฟ้ามักเป็น " ทองแดง " ที่อยู่บนแผ่นวงจรพิมพ์ต่างๆ เช่น Mainboard เป็นต้น ที่เราเห็นเป็นลายเส้น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เป็นแถบๆ หลายๆ เส้น บ้าง หรือ เป็นเส้นเดี่ยวๆ บ้าง และ BUS มีการทำงานที่สลับซับซ้อนพอสมควรจึงมักเรียกว่า " ระบบบัส " หรือ " BUS SYSTEM " แล้ว BUS แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ? โดยทั่วไป ระบบบัส ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท กล่าวคือ 1. ADDRESS BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับแจ้งตำแหน่งหรือ ระบุตำแหน่งที่อยู่ ในระบบคอมพิวเตอร์ 2. CONTROL BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับส่งการควบคุม ไปยังส่วนต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ 3. DATA BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับการส่งข้อมูลไปยังตำแหน่งที่ระบุโดย Address bus และ ถูกควบคุมโดย Control bus หมาย เหตุ : แล้ว FSB : Front Side Bus คืออะไร ? คำว่า Front Side Bus หรือ FSB เป็นคำที่ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อใช้สำหรับการกำหนดความเร็วในการทำงานระหว่าง CPU กับ RAM โดยตรง ซึ่งโดยปกติการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์นั้น CPU จะทำงานโดยอาศัยหน่วยความจำ ( RAM ) เป็นเสมือนหนึ่ง " โต๊ะทำงาน " และ " ถังพักข้อมูล " ในการทำงาน เมื่อ CPU มีความเร็วในการทำงานที่สูง เมื่อสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรงกับ หน่วยความจำที่เป็น RAM จึงแทบไม่ต้องอยู่ในสถานะที่รอคอย ( Wait State ) ข้อมูลในการทำงานมากเหมือนการติดต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ดังนั้นจึงมีการออกแบบและกำหนดสถาปัตยกรรมของการเข้าถึงข้อมูลในหน่วยความจำ ( RAM ) เพื่อความรวดเร็วในการทำงานระหว่าง CPU กับ RAM โดยตรงให้มีความเร็วที่สูงที่สุดเท่าที่ หน่วยความจำนั้นๆ จะตอบสนองการทำงานได้ จึงได้เห็นหน่วยความจำที่มีความเร็วขนาดต่างๆ เช่น FSB266 , FSB333 , FSB400 , FSB533 , FSB667 , FSB800 , FSB1066 เป็นต้น โดยการเลือกความเร็วระดับต่างๆ จำเป็นต้องสอดคล้องกับ CPU ที่ใช้ และ Mainboard ที่ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบคอมพิวเตอร์ในด้านความเร็วในการประมวลผล และ คุณจะสังเกตุเห็นได้ว่า Socket สำหรับติดตั้ง หน่วยความจำ ( RAM ) บนเมนบอร์ดนั้นจะอยู่ใกล้กับ CPU มาก และ จาก CPU จะมีช่องทางการต่อเชื่อมถึงหน่วยความจำ ( RAM ) โดยผ่านเส้นลวดตัวนำสัญญานที่สั้นมากนั่นเอง แล้ว BUS ทำงานอย่างไร ? เมื่อ BUS เป็นเส้นทางการส่งข้อมูลที่เป็นสัญญานไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา ดังนั้นก็จะมี วงจร สำหรับควบคุมการทำงานของระบบ BUS เรียกว่า BUS Controller ซึ่งในอดีต มี Chip IC ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรงแยกออกไป ในปัจจุบัน ได้มีการ รวมวงจรควบคุม BUS นี้เข้าไว้ใน North Bridge Chip โดยที่วงจรควบคุมระบบ BUS นี้จะทำหน้าที่ จัดช่องสัญญานประเภทต่างๆให้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ บนเมนบอร์ดให้กับอุปกรณ์ที่ร้องขอใช้งาน เช่น CPU , อุปกรณ์ I/O , Port ต่างๆ เป็นต้น อีกนัยหนึ่งของ BUS มีเรียกขานกันในเรื่องเกี่ยวกับเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) โดยมีความหมายว่า เป็นสถาปัตยกรรมการต่อเชื่อมเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง โดยมีแนวเส้นหลัก ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็น " ถนนสายหลัก " ที่ใช้สำหรับ " เดินทาง " หรือ " ขนส่งข้อมูล " และ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับระบบ BUS Network นี้ เป็นเสมือนหนึ่ง " บ้าน " ที่อยู่ใน " ถนนย่อย " ที่แยกออกจากถนนหลัก โดยที่ " ถนนย่อย " ที่แยกแต่ละถนนนั้น จะมี " เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ บ้าน " เพียงหลังเดียวอยู่ที่ปลายถนนย่อยแต่ละเส้น นั่นเอง โดยที่จุดแยกเข้าถนนย่อยนั้น จะมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ " แยกสัญญาน " หรือ " พ่วงสัญญาน " ที่เรียกว่า MAC ( Media Access Connector ) เป็นตัวเชื่อมต่อและแยกสัญญานให้ แห่งเวป http://www.expert2you.com/