แผงวงจรกำเนิดแสงอินฟาเรด : Infrared LED
หลอดส่งแสงอินฟราเรด ใช้งานได้สองลักษณะคือ
- ส่งแบบต่อเนื่อง ทำงานเมื่อเป็นลอจิก “1” (HIGH) จะใช้ร่วมกับแผงวงจรโฟโต้ทรานซิสเตอร์วัดระดับความเข้มที่ได้
- ส่งสัญญาณความถี่ ด้วยคำสั่ง FREQOUT จะใช้ร่วมกับแผงวงจรโมดูลรับแสงอินฟราเรดเพื่อแจ้งสถานะว่ารับสัญญาณได้หรือไม่
แผงวงจรหลอดแสดงผล : LED monitor
หลอดแสดงผลหรือ LED แบ่งการทำงานเป็น 2 กรณีคือ เมื่อต่อกับช่อง HIGH
ถ้าสัญญาณที่เข้ามาเป็นลอจิก “1” แสดงเป็นสีแดงเมื่อต่อกับช่อง LOW
ถ้าสัญญาณที่เข้ามาเป็นลอจิก “0” จะแสดงเป็นสีเขียว
ถ้าไม่ใช้สัญญาณที่กำหนด หลอดแสดงผลจะดับ
SLCD :โมดูล LCD แบบอนุกรม
แนวคิดในการสร้างโมดูล LCD แบบอนุกรมคือ นำโมดูล LCD แบบขนานมาเชื่อมต่อเข้ากับแผงวงจรแปลงการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมเป็นขนาน เมื่อเบสิกแสตมป์ 2SX ส่งข้อมูลอนุกรมเข้ามา แผงวงจรดังกล่าวจะทำการแปลงเป็นข้อมูลแบบขนานแล้วส่งต่อไปยังโมดูล LCD เพื่อให้ทำงานตามที่กำหนดต่อไป
คุณสมบัติทางเทคนิคของ SLCD : โมดูล LCD แบบอนุกรม
- แสดผลได้ 16 ตัวอักษร 2 บรรทัด
- เชื่อมต่อกับพอร์ตของเบสิกแสตมป์ได้โดยตรง (ในกรณีใช้ Sci-BOX ต่อเข้าที่ขา P0 – P7 ขาใดขาหนึ่ง)
- เชี่อมต่อกับพอร์ตอนุกรม RS-232 ได้โดยตรง
- สามารถเลือกสัญญาณเชื่อมต่อเป็นแบบโดยตรง(direct) หรือแบบกลับลอจิก (invert) ได้
- เลือกบอดเรตได้ 2 ค่า คือ 2400 และ 9600 บิต ต่อ วินาที ในรูปแบบข้อมูล 8 บิต ไม่มีพาริตี้บิตหยุด 1 บิต (8N1)
- เลือกชุดคำสั่งในการควบคุมได้ทั้งแบบมาตรฐานและแบบเพิ่มเติม
- ใช้สัญญาณเชื่อมต่อเพียง 3 เส้น คือ +Vcc(+) , GND(G) และ Serial input(S)
- สามารถเชื่อมต่อไมโครคอนโทรลเลอร์ได้ทุกตระกูล โดยใช้ขาพอร์ตในการติดต่อเพียง 1 เส้น
- ใช้ไฟเลี้ยงได้ตั้งแต่ +5 ถึง +12 V
การใช้งาน SLCD :โมดูล LCD แบบอนุกรม
ในรูปแบบด้านล่างแสดงรายละเอียดของแผงวงจรด้านหลังของ SLCD บนบอร์ดมีจัมเปอร์เพื่อควบคุมการทำงานทั้ง 4 ตัว มีดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. จัมเปอร์เลือกโหมดคำสั่ง (mode command jumper) ใช้สำหรับเลือกโหมดคำสั่งเพื่อควบคุมการแสดงผลของโมดูล LCD ซึ่งเลือกได้ 2 โหมด คือ โหมดคำสั่งมาตรฐาน(ST) ซึ่งจะตรงกับโมดูล LCD ของ Scott Edwards ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก และโหมดคำสั่งเพิ่มเติม (Extended mode command : EX ) สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหัวข้อชุดคำสั่งของ SLCD ปกติจะเลือกไปที่โหมดคำสั่งมาตรฐาน(ST)
2. จัมเปอร์เลือกบรรทัดของการแสดงผล (Lines Jumper) ใช้เลือกจำนวนบรรทัดของการแสดงผล มีด้วยกัน 2 แบบ คือ 1/8 Duty หมายถึงเลือกแสดงผล 8 หลักต่อบรรทัด และแบบ 1/16 Duty หมายถึงเลือกแสดงผล 16 หลักหรือตัวอักษรต่อบรรทัดหรือมากกว่า ปกติจะเลือกไว้ที่ 1/16 ซึ่งหมายถึง เลือกการแสดงผลแบบหลายบรรทัด
3. จั๊มเปอร์เลือกบอดเรดหรืออัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูลอนุกรม(baudrate select jumper) เลือกได้ 2 ค่า คือ 2400 บิตต่อวินาที และ 9600 บิตต่อวินาที ในรูปแบบจำนวนบิตข้อมูล 8 บิต ไม่มีบิตพาริตี้ และมีบิตหยุด 1 บิต
4. จัมเปอร์เลือกรูปแบบของสัญญาณเชื่อมต่อ(interface signal jumper) เลือกได้ 2 ค่า คือ แบบกลับลอจิกและ RS-232 (invert logic TTL/CMOS level or RS-232 : IN) กับแบบเชื่อมต่อโดยตรง (direct logic TTL/CMOS level:DI) ถ้าหากนำ SLCD ไปเชื่อมต่อกับพอร์ตอนุกรมของคอมพิวเตอร์ต้องเลือกไปที่ IN ถ้าหากเชื่อมต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์โดยตรง สามารถเลือกใช้ได้ทั้ง IN และ DI
การปรับความสว่างของจอแสดงผลทำได้โดยปรับที่ตัวต้านทานปรับค่าได้ในตำแหน่ง BRIGHTNESS
จุดเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกมี 3 จุด คือ จุดต่อไฟเลี้ยง +Vcc(+) , อินพุตสัญญาณอนุกรม(Serial input : S) และจุดต่อกราวด์ (GND : G)
การเขียนข้อมูลและคำสั่งไปยัง SLCD ในกรณีเลือกใช้ชุดคำสั่งมาตรฐาน
จะต้องส่งรหัสเริ่มต้นเสียก่อน ในกรณีใช้งาน SLCD กับเบสิกแสตมป์ 2SX จะใช้คำสั่ง SEROUT ในการส่งข้อมูลไปยัง SLCD ดังมี
รูปแบบต่อไปนี้
SEROUT ขาพอร์ต , ค่า baudmode , [$FE , ข้อมูลคำสั่ง]
จะต้องส่งรหัสเริ่มต้นของการติดต่อกับ SLCD ซึ่งก็คือ $FE หรือ 254 รหัสนี้เป็นรหัสมาตรฐานของโมดูล LCD อนุกรมของ Scott Edwards จากนั้นส่งข้อมูลคำสั่งที่ต้องการตามไปได้เลย
สำหรับการเขียนข้อมูลแสดงผล มีรูปแบบดังนี้
SEROUT ขาพอร์ต , ค่า baudmode , [$FE , ข้อมูลแสดงผล]
เช่นเดียวกับการเขียนข้อมูลคำสั่ง ต้องส่งรหัสเริ่มต้น $FE ก่อน ตามด้วยข้อมูล 1 เพื่อแจ้งให้ตัวควบคุมบน SLCD ทราบว่า ข้อมูลหลังจากนี้เป็นข้อมูลสำหรับแสดงผล
การเขียนข้อมูลและคำสั่งไปยัง SLCD ในกรณีเลือกใช้ชุดคำสั่งเพิ่มเติม
มีรูปแบบที่คล้ายกับชุดคำสั่งมาตรฐาน แตกต่างกันเพียงไม่จำเป็นต้องส่งรหัสเริ่มต้น $FE และไม่ต้องส่งข้อมูล 1 เพื่อแยกข้อมูลคำสั่งกับข้อมูลแสดงผล เพียงใช้สัญลักษณ์ “ “ เพื่อกำหนดข้อมูลสำหรับแสดงผลเท่านั้น ในกรณีใช้งานกับเบสิกแสตมป์ 2SX จะใช้คำสั่ง SEROUT เช่นเดียวกัน สำหรับข้อมูลคำสั่งเพิ่มเติมสรุปไว้แล้วในกรอบแยกที่ 2 รูปแบบการเขียนคำสั่งและข้อมูลในโหมดคำสั่งเพิ่มเติมมีดังนี้
กรอบแยกที่ 2 คำสั่งควบคุม SLCD~ ในโหมดคำสั่งเพิ่มเติม
ข้อมูลคำสั่ง การทำงาน
128 อินิเชียล LCD
129 เคลียร์จอแสดงผล
130 กลับมาตำแหน่งเริ่มต้น
131 เคอร์เซอร์ไม่เลื่อนเมื่อมีอักษรใหม่
132 เคอร์เซอร์เลื่อนไปทางขวาเมื่อมีตัวอักษรใหม่
133 เคอร์เซอร์เลื่อนไปทางซ้ายเมื่อมีตัวอักษรใหม่
134 เปิดจอแสดงผล
135 ปิดจอแสดงผล
136 เปิดจอแสดงผลและแสดงเคอร์เซอร์
137 เปิดจอแสดงผลและแสดงเคอร์เซอร์กระพริบ
138 เลื่อนเคอร์เซอร์ไปทางซ้าย
139 เลื่อนเคอร์เซอร์ไปทางขวา
140 เลื่อนตัวอักษรใหม่ไปทางซ้าย
141 เลื่อนตัวอักษรใหม่ไปทางขวา
142 เขียน CGRAM แอดเดรส 0
143 เขียน CGRAM แอดเดรส 1
144 เขียน CGRAM แอดเดรส 2
145 เขียน CGRAM แอดเดรส 3
146 เขียน CGRAM แอดเดรส 4
147 เขียน CGRAM แอดเดรส 5
148 เขียน CGRAM แอดเดรส 6
149 เขียน CGRAM แอดเดรส 7
150 เขียน CGRAM แอดเดรส $100
151 เขียน CGRAM แอดเดรส $10
152 เขียน CGRAM แอดเดรส $14
153 เขียน CGRAM แอดเดรส $20
154 เขียน CGRAM แอดเดรส $40
155 เขียน CGRAM แอดเดรส $50
156 เขียน CGRAM แอดเดรส $54
SEROUT ขาพอร์ต , ค่า baudmode , [ข้อมูลคำสั่ง] และ
SEROUT ขาพอร์ต , ค่า baudmode , [“ข้อมูลแสดงผล”]
ตัวอย่างที่ 1
SEROUT 8 , 240 , [129]
ทำการส่งข้อมูลคำสั่งออกไปทางขวา P8 ของเบสิกแสตมป์ 2SX ด้วยบอดเรต 9600 บิตต่อวินาที แบบต่อฝโดยตรงเพื่อเคลียร์จอแสดงผล
ตัวอย่างที่ 2
SEROUT 8 , 240 , [“Hello Stamp 2SX!”]
ทำการส่งข้อมูลคำสั่งออกไปทางขวา P8 ของเบสิกแสตมป์ 2SX ด้วยบอดเรต 9600 บิตต่อวินาที แบบต่อโดยตรง เพื่อแสดงข้อความ Hello Stamp 2SX!”
ตัวอย่างที่ 3
SEROUT 8 , 240 , [154,”Test Line 2 LCD”]
ทำการส่งข้อมูลคำสั่งออกไปทางขวา P8 ของเบสิกแสตมป์ 2SX ด้วยบอดเรต 9600 บิตต่อวินาที แบบต่อโดยตรง เพื่อเลือกแอดเดรสของ DDRAM ตำแหน่ง $40 อันเป็นแอดเดรสเริ่มต้นของจอ LCD บรรทัดที่สองสำหรับแสดงข้อความ Test Line 2 LCD
ตัวอย่างที่ 4
SEROUT 8 , 240 , [150,137]
ทำการส่งข้อมูลคำสั่งออกไปทางขวา P8 ของเบสิกแสตมป์ 2SX ด้วยบอดเรต 9600 บิตต่อวินาที แบบต่อโดยตรง เพื่อเลือกแอดเดรสของ DDRAM ตำแหน่ง $00 อันเป็นแอดเดรสเริ่มต้นของจอ LCD บรรทัดแรกแล้วทำการเปิดจอแสดงผลพร้อมกับแสดงเคอร์เซอร์กระพริบ
การเชื่อต่อ SLCD กับ Sci-BOX
ทำได้งายมากเพียงต่อสัญญาณจากขาพอร์ต P0-P7 ขาใดขาหนึ่งบนบอร์ด Sci-BOX เข้ากับขาข้อมูลของ SLCD คำสั่งที่ใช้งานคือ SEROUT นั่นหมายความว่า การเขียนโปรแกรมติดต่อกับ SLCD ของเบสิกแสตมป์ 2SX จะเหมือนกับการติดต่ออนุกรมของคอมพิวเตอร์ และทำให้สามารถใช้งาน SLCD นี้กับพอร์ตอนุกรมของคอมพิวเตอร์ได้ด้วยเช่นกัน
แหล่งอ้างอิง http://www.rayongwit.ac.th
หน่วยแสดงผล (Output Unit)
โดยมากจะแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
- หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ แต่ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานในภายหลัง หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ
- จอภาพ (Monitor) ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์ บนจอภาพประกอบด้วยจุดจำนวนมากมาย เรียกจุดเหล่านั้นว่า พิกเซล (pixel) ถ้ามีพิเซลจำนวนมากก็จะทำให้ผู้ใช้มาองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ
- จอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากในปัจจุบัน ใช้หลักการยิงแสงผ่านหลอดภาพคล้ายกับโทรทัศน์
- จอแอลซีดี (Liquid Crystal Display) นิยมใช้เป็นจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาทำให้เป็นจอภาพที่มีความหนาไม่มาก มีน้ำหนักเบาและกินไฟน้อยกว่าวจอภาพซีอาร์ที แต่มีราคาสูงกว่า เทคโนโลยีจอแอลซีดีในปัจจุบันจะมีสองแบบคือPassive Matrix ซึ่งมีราคาต่ำแต่ขาดความคมชัดและอาจมองไม่เห็นภาพเมื่อผู้ใช้มองจากบางมุม ส่วน Aciive Matrix หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Thin Film Transistor (TFT) จะให้ภาพที่คมชัดกว่าแต่จะมีราคาสูงกว่ามาก
สมัยก่อนมีจอภาพระบบขาวดำหรือเขียวดำ ซึ่งเรียกว่า จอโมโนโครม (Monochrome) แต่ปัจจุบันนี้ซอฟต์แวร์ส่วนมากจะใช้ร่วมกับจอภาพชนิดสีเท่านั้น ซึ่งจะมีจอภาพอยู่หลายชนิดให้เลือก โดยแตกต่างกันในส่วนของ ความละเอียด ( Resolution) จำนวนสี (color) และ ขนาดของจอภาพ (size)
ในส่วนความละเอียดของจอภาพ ในปัจจุบันจะนิยมใช้จอภาพชนิดสีแบบ Super Video Graphic Adapter หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ซูเปอร์วีจีเอ (Super VGA) ซึ่งมีความละเอียด 800x600 พิกเซล สำหรับจอภาพที่มีความละเอียดต่ำ (low resolution) และสำหรับจอภาพที่มีความละเอียดสูง จะนิยมใช้ความละเอียดที่ 1024x768,1280x1024 หรือ 1600x1200 พิกเซล ซึ่งจะให้ความคมชัดที่สูงมาก สิ่งที่เป็นปัจจัยอีกอันหนึ่งที่ทำให้ภาพดูคมชัดมากขึ้นถึงแม้ว่าจะมีจำนวนพิกเซลเท่ากัน ก็คือ ระยะห่างระหว่างพิกเซล (dot pitch) โดยระยะห่างระหว่างพิกเซลน้อยก็จะให้ความละเอียดได้มากกว่า จอภาพที่มีขายในท้องตลาดปัจจุบันมีระยะห่างระหว่างพิกเซลอยู่ระหว่าง 0.25-0.28 หน่วย ซึ่งระยะห่างระหว่างพิกเซลนี้เป็นสิ่งที่ติดมากับเครื่องไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ในส่วนของจำนวนสีนั้น ณ ขณะใดขณะหนึ่งแต่ละพิเซลจะแสดงสีได้เพียงสีเดียวเท่านั้น ซึ่งสีต่าง ๆ จะถูกแทนด้วยตัวเลข ดังนั้น ถ้าจอภาพแสดงได้ 16 สี เลขเหล่านั้นก็จะแทนด้วย 4 บิต ถ้าต้องการแสดงถึง 256 สีก็จะต้องใช้ 8 บิตแทนรหัสสีนั้น ๆ
ปัจจุบันนี้ผู้ใช้มักจะแสดงภาพกราฟิก ภาพจากโทรทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว บนจอภาพคอมพิวเตอร์ จุงต้องการจอภาพที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น จอภาพที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีขนาด 14 นิ้ว 15 นิ้ว และ 17 นิ้ว ส่วนจอภาพซึ่งมีจนาดใหญ่กว่านี้จะนิยมใช้กับงานที่เน้นกราฟฟิก เช่น งานออกแบบ (CAD/CAM) เป็นต้น
จอภาพคอมพิวเตอร์และแผงวงจรกราฟฟิก
การต่อจอภาพเข้ากับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมี แผงวงจรกราฟฟิก (Graphic Adapter Board) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การ์ดวีดีโอ (video card) ซึ่งจอภาพแต่ละชนิดก็ต้องการแผงวงจรที่ต่างกัน แผงวงจรกราฟฟิกจะถูกเสียบเข้ากับ ช่องขยายเพิ่มเติม (expansion slot) ในคอมพิวเตอร์ แผงวงจรกราฟฟิกมักจะมีหน่วยความจำเฉพาะที่เรียกว่า หน่วยความจำวีดีโอ (video memory) เพื่อให้ใช้โปรแกรมด้านกราฟฟิกได้สวยงามและรวดเร็ว ซึ่งหน่วยความจำนี้อาจใช้แรมธรรมดาหรือแรมแบบพิเศษต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น เช่น วีดีโอแรม (video RAM) ซึ่งบางครั้งเรียกว่า วีแรม (VRAM) เป็นต้น
สิ่งที่เป็นปัจจัยข้อหนึ่งที่ผู้ใช้จอภาพต้องคำนึงคือ อัตราการเปลี่ยนภาพ (refresh rate) ของการ์ดวีดีโอ โดยภาพที่แสดงบนจอภาพแต่ละภาพนั้นจะถูกลบและแสดงภาพใหม่เริ่มจากบนลงล่าง หาก อัตรการเปลี่ยนภาพในแนวดิ่ง (Vertical-refresh rate) เป็น 60 ครั้งต่อวินาที หรือ 60 Hz จะเกิดการกระพริบทำให้ผู้ใช้ปวดศีรษะได้ มีผู้วิจัยพบว่าอัตราเปลี่ยนภาพในแนวดิ่งไม่ควรต่ำกว่า 70 Hz จึงจะไม่เกิดการกระพริบ และทำให้ผู้ใช้ดูจอภาพได้อย่างสบายตา นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์สำหรับถอดรหัสภาพแบบMPEG (Motion Picture Experts) ซึ่งอาจอยู่ในรูปของซอฟต์แวร์ หรือฮาร์ดแวร์ที่ติดอยู่บนการ์ดวีดีโอ อันจะทำให้สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพยนตร์ต่าง ๆ บนจอคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่อง
- อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector)
เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุม เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลให้ผู้ชมจำนวนมากเห็นพร้อม ๆ กัน อุปกรณ์ฉายภาพในปัจจุบันจะมีอยู่หลายแบบ ทั้งที่สามารถต่อสัญญาณจากคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษในการวางลงบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector) ธรรมดา เหมือนกับอุปกรณ์นั้นเป็นแผ่นใส่แผ่นหนึ่ง
อุปกรณ์ฉายภาพจะมีข้อแตกต่างกันมากในเรื่องของกำลังส่องสว่าง เนื่องจากยิ่งมีกำลังส่องสว่างสูง ภาพที่ได้ก็จะชัดเจนมากขึ้น กำลังส่องสว่างมีหน่วยวัดค่าอยู่ 3 แบบ คือ LUX , LUMEN และ ANSI LUMEN โดยการวัดค่าแบบ LUX จะวัดค่าความสว่างที่จุดกึ่งกลางของภาพ จึงได้ค่าความสว่างสูงที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 2 แบบ การวัดแบบ จะแบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วน คือ บน กลางและล่าง และแต่ละส่วนจะถูกแบ่งออกเป็น 3 จุด คือ ริมซ้าย กลาง และริมขวา รวมจุดภาพทั้งหมด 9 จุด แล้วจึงใช้ค่าเฉลี่ยของความสว่างทั้ง 9 จุดคิดออกมาเป็นค่า LUMEN ส่วนการวัดแบบ ANSI LUMEN จะมีมาตรฐานสูงสุด โดยใช้วิธีเดียวกับ แต่จะกำหนดขนาดจอภาพไว้คงที่คือ 40 นิ้ว (หากไม่กำหนด การวัดค่าความสว่างจะสูงขึ้นเมื่อจอภาพมีขนาดเล็กลง)
อุปกรณ์ฉายภาพ
- อุปกรณ์เสียง (Audio Output)
คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ มักจะมีหน่วยแสดงเสียง ซึ่งประกอบขึ้นจาก ลำโพง (speaker) และ การ์ดเสียง (sound card) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถฟังเพลงในขณะทำงาน หรือให้เครื่องคอมพิวเตอร์รายงานเป้นเสียงให้ทราบเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ไม่มีกระดาษในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น รวมทั้ง สามารถเล่นเกมส์ที่มีเสียงประกอบได้อย่างสนุกสนาน โดยลำโพงจะมีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นเสียงเช่นเดียวกับลำโพงวิทยุ ส่วนการ์ดเสียงจะเป็นแผงวงจรเพิ่มเติมที่นำมาเสียงกับช่องเสียบขยายในเมนบอร์ด เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถส่งสัญญาณเสียงผ่านลำโพง รวมทั้งสามารถต่อไมโครโฟนเข้ามาที่การ์ดเพื่อบันทึกเสียงเก็บไว้ด้วย
การ์ดเสียง
เทคโนโลยีด้านเสียงในขณะนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- Weveform audio หรืออาจเรียกว่า digital audio เป็นเทคโนโลยีที่เปรียบเสมือนการเก็บเสียงลงเทปเพลง แต่ในที่นี้จะเป็นการบันทึกเสียงในรูปของ waveform (รูปแบบคลื่นเสียง) ลงในแฟ้มข้อมูลตามฟอร์แมตต่าง ๆ เช่น .WAV ของ windows เป็นต้น ซึ่งสามารถนำเสียงที่บันทึกไว้นี้อ่านกลับมาเป็นคลื่นเสียงออกทางลำโพงได้และเนื่องจากข้อมูลเสียงที่เก็บไว้อยู่ในรูปของดิจิตอล ทำให้การปรับแต่งเสียงสามารถทำได้โดยสะดวก
- MIDI (Musical Instrument Digital Interface) เป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมดนตรีแบบอิเล็กทรอนิกส์ ใช้สำหรับการส่งและแลกเปลี่ยนสัญญาณเสียงในรูปแบบที่อุปการ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้งานได้ โดยจะเป็นเทคโนโลยีที่เปรียบเสมือนการเก็บโน้ตเพลง เนื่องจากข้อมูลแบบ MIDI จะเป็นคำสั่งในการสังเคราะห์เสียงแทนที่จะเป็นเสียงเพลงจริง ๆ และจะใช้อุปกรณ์ ซินธิไซเซอร์ (Sythesizer) ในการรับคำสั่งจากข้อมูล MIDI ทำให้สามารถแก้ไขหรือปรับแต่งเพลงได้ทีละตัวโน้ต รวมทั้งสามารถปรับแต่งจังหวะได้โดยไม่กระทบกระเทือนถึงระดับเสียงของตัวโน้ต
การเล่นเสียงดนตรีแบบ MIDI
เทคโนโลยี
|
ข้อดี
|
ข้อเสีย
|
WAVEFORM | บันทึกเสียงได้ทุกชนิด บันทึกการทำงานของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นได้ ให้เสียงที่เหมือนต้นฉบับ | ใช้เนื้อที่ดิสก์มาก ปรับจังหวะทำให้ระดับเสียงของโน้ตเปลี่ยน ความสามารถในการปรับแต่งจำกัด |
MIDI | สามารถบันเสียงเพลงขณะที่เล่นได้ ใช้เนื้อที่ดิสก์น้อย มีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งสูง สามารถสร้างและเล่นกับเสียงเพลงโดยใช้เครื่องดนตรีหลายชิ้นได้สะดวก | บันทึกเสียงพูดไม่ได้ ให้เสียงต่างกันสำหรับซินธิไซเซอร์แต่ละตัว |
เปรียบเทียบเทคโนโลยี
วิธีการแปลงข้อมูลดิจิตอลที่จัดเก็บไว้กลับมาเป็นคลื่นเสียงของการ์ดเสียง หรือที่เรียกการสังเคราะห์เสียง ในปัจจุบันสามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ
- การสังเคราะห์เสียงแบบเอฟเอ็ม (FM Synthesis) จะเป็นการสังเคราะห์เสียงโดยใช้สูตรต่าง ๆ ที่เก็บอยู่เพื่อเลียนแบบเสียงที่ต้องการ
- การสังเคราะห์เสียงแบบตารางคลื่นเสียง (Wavetable Synthesis) จะใช้ตัวอย่างเสียงของเครื่องดนตรีที่เก็บอยู่ในการสร้างเสียงต่าง ๆ ซึ่งจะให้คุณภาพที่ดีกว่าการสังเคราะห์แบบเอฟเอ็ม แต่จะมีราคาสูงกว่า
- หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น
- เครื่องพิมพ์ (Printer)
เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันมาก และมีให้เลือกหลายชนิดขึ้นอยู่กับคุณภาพของตัวอักษร ความเร็วในการพิมพ์ และเทคโนโลยีที่ใช้งาน สามารถแบ่งตามวิธีการพิมพ์ได้ 2 ชนิด คือ
- เครื่องพิมพ์ชนิดตอก (Impact printer) ใช้การตอกให้คาร์บอนบนผ้าหมึกติดบนกระดาษตามรูปแบบที่ต้องการ สามารถพิมพ์ครั้งละหลายชุดโดยใช้กระดาษคาร์บอนวางระหว่างกระดาษแต่ละแผ่นได้ ข้อเสียของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้คือ มีเสียงดังและคุณภาพงานพิมพ์ที่ได้จะไม่ดีนักสามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย คือ
- เครื่องพิมพ์อักษร (character printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งตัวอักษรเท่านั้น ตัวอักษรแต่ละตัวจะถูกสร้างขึ้นจากจุดเล็ก ๆ จำนวนมาก จึงสามารถเรียกอีกอย่างว่า เครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix printer) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
- เครื่องพิมพ์บรรทัด (line printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งบรรทัด เป็นเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์งานได้เร็ว แต่จะมีราคาสูง นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ หรือเครื่องพิมพ์ที่มีผู้ใช้หลายคน
- เครื่องพิมพ์ชนิดไม่ตอก (Nonimpact printer) ใช้เทคนิคการพิมพ์จากวิธีการทางเคมี ซึ่งทำให้พิมพ์ได้เร็วและคมชัดกว่าชนิดตอก และพิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและภาพกราฟฟิค รวมทั้งไม่มีเสียงขณะพิมพ์ แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถพิมพ์กระดาษแบบสำเนา (copy) ได้ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
- เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer) ทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือมีแสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้า ซึ่งจะมีผลให้โทนเนอร์ (toner) สร้างภาพที่ต้องการและพิมพ์ภาพนั้นลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์เลเซอร์จะมีรุ่นต่าง ๆ ที่แตกต่างกันในด้านความเร็ว และความละเอียดของงานพิมพ์ โดยในปัจจุบันสามารถพิมพ์ได้ละเอียดสูงสุดถึง 1200 จุดต่อนิ้ว (dot per inchหรือ dpi)
- เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก (Inkjet printer) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ส่วนมากจะสามารถพิมพ์สีได้ ถึงแม้จะไม่คมชัดเท่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ แต่ก็คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดตอก และมีราคาถูกกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ ทำให้ได้รับความนิยมนำมาใช้งานตามบ้านอย่างมาก
- เครื่องพิมพ์ความร้อน (Thermal printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพในการพิมพ์สูงสุด จะมี 2 ประเภท คือ Thermal wax transfer ให้คุณภาพและราคาที่ต่ำกว่า ทำงานโดยการกลิ้งริบบอนที่เคลือบแวกซ์ไปบนกระดาษ ส่วนThermal dye transfer ใช้หลักการเดียวกับ Thermal wax แต่ใช้สีย้อมแทน จะเป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพสูงสุด โดยสามารถพิมพ์ภาพสีได้ใกล้เคียงกับภาพถ่าย แต่ราคาเครื่องและค่าใช้จ่ายในการพิมพ์จะสูงมาก
(ก) เครื่องพิมพ์แบบจุด (ข) เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (ค) เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก
แหล่งอ้างอิง http://cptd.chandra.ac.th
- เครื่องพลอตเตอร์ (Plotler)
ใช้วาดหรือเขียนภาพสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดสูง ๆ นิยมใช้กับงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม มีให้เลือกหลายชนิดโดยจะแตกต่างกันในด้านความเร็ว ขนาดกระดาษ และจำนวนปากกาที่ใช้เขียนในแต่ละครั้ง มีราคาแพงกว่าเครื่องพิมพ์ธรรมดา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น