ฮาร์ดแวร์คืออะไร
ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน1. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่พบใน Case ได้แก่
1.1 Power Supply
1.2 Mainboard และ ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งหรือเป็นส่วนหนึ่งของ Mainboard ที่สำคัญ ได้แก่
1.2.1 CPU
1.2.2 RAM
1.2.3 Expansion Slots
1.2.4 Ports
1.3 Hard Disk
1.4 Floppy Disk Drive
1.5 CD-ROM Drive
1.6 DVD-ROM Drive
1.7 Sound Card
1.8 Network Card
2. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่อยู่นอก Case ที่สำคัญได้แก่
2.1 Keyboard
2.2 Monitor
2.3 Mouse
2.4 Printer
องค์ประกอบของฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)หมายถึงส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยหน่วยต่างๆ 4 หน่วยดังนี้
-หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
-หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)-หน่วยความจำ (Memory
Unit)
-หน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output Unit)
หน่วยรับข้อมูลทำหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคำสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ
เพื่อเตรียมประมวลผลข้อมูลตามที่ต้องการ
ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน
สำหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้
- แป้นพิมพ์ (Keyboard)
- เมาส์ (Mouse)
- สแกนเนอร์ (Scanner)
- แทร็คบอล (Trackball)
- จอยสติ๊ก (Joystick)
- จอภาพสัมผัส (Touch Screen)
- กล้องดิจิตอล (Digital Camera)
หน่วยประมวลผลกลางทำหน้าที่ในการประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
หน่วยควบคุม (control unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน
ควบคุมการเขียนอ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำของซีพียู
ควบคุมกลไกการทำงานทั้งหมดของระบบ ควบคุมจังหวะเวลา
โดยมีสัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดจังหวะการทำงาน
หน่วยคำนวณและตรรกะ (arithmetic and logic unit)
เป็นหน่วยที่มีหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกะ
เช่น การบวก การลบ การเปรียบเทียบ และ การสลับตัวเลข เป็นต้น
การคำนวณทำได้เร็วตามจังหวะการควบคุมของหน่วยควบคุมหน่วยความจำหลักทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ
1. แรม (Random Access Memory: RAM) แรมเป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้
2.รอม (Read Only Memory : ROM)
รอมจึงเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ถาวร
3.cache
เป็นหน่วยความจำใช้บันทึกเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนส่งให้คอมพิวเตอร์ใช้และช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วหน่วยความจำสำรอง
- ใช้เป็นส่วนเพิ่มหน่วยความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น
ทำงานติดต่อยู่กับส่วนความจำหลัก
โดยปกติแล้วหน่วยความจำสำรองจะมีความจุมากและมีราคาถูกกว่าหน่วยความจำหลัก
แต่เรียกหาข้อมูลได้ช้ากว่า เช่น ฮาร์ดดิสก์, ฟลอบปี้ดิสก์หน่วยรับข้อมูล หรือ
หน่วยนำเข้าข้อมูล มีหน้าที่สำคัญ คือ เป็นอุปกรณ์ ที่รับข้อมูล หรือคำสั่ง
เข้าสู่ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ หน่วยรับข้อมูล จึงเป็นหน่วยทำงานที่ช่วยให้
มนุษย์ สามารถติดต่อ สั่งงาน
เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ซอฟท์แวร์ระบบซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป
แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า
โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้
ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk Operating
System : DOS)
วินโดวส์ (Windows)
โอเอสทู (OS/2)
ยูนิกซ์ (UNIX) ตัวแปลภาษา
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง
เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา
ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย
เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้ ซอฟท์แวร์ประยุกต์
การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้น
จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User)
หมายถึงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ เช่น
การพิมพ์งาน การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
เป็นต้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคต่างๆ
ของคอมพิวเตอร์ก็ได้ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
(Programmer)
หมายถึงผู้เขียนโปรแกรมตามผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้กำหนด
เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานในองค์กร
หน่วยวัดความจุของแรม
-กิโลไบต์ KB 10^3
-เมกะไบต์ MB 10^6
-จิกะไบต์ GB 10^9
-เทระไบต์ TB 10^12
Data Communication คือ การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็คทรอนิกส์Procedures คือ
ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม
เพื่อให้ได้งานเฉพาะบางอย่างจากคอมพิวเตอร์ประเภทคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
คือ
1. Super Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
และสามารถประมวลผลได้เร็วที่สุด มีความจุในการจัดเก็บข้อมูลสูง
ส่วนมากจะผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้านเท่านั้น
เช่นงานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ยุ่งยากซับซ้อน และต้องมีการคํานวณมาก เช่น
งานวิจัยทางด้านนิวเคลียร์ งานพยากรณ์อากาศ
ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้มีราคาแพงมาก
2. Mainframe Computer เป็นคอมพิวเตอร็ที่มีประสิทธิภาพตํ่ารองจาก Super
computerและความเร็วในการประมวลผลสูง ส่วนใหญ่มักจะนํ าไปใช้งานกับองค์กรขนาดใหญ่
เช่น ธนาคาร สายการบิน บริษัทประกันภัย มหาวิทยาลัย เป็นต้น
3. Mini Computer
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วในการประมวลผลและความจุตํ่ากว่าระบบเมนเฟรม
มินิคอมพิวเตอร์จะทํางานโดยใช้ระบบผู้ใช้หลายคน (Multi-user system)
มักจะใช้กับงานที่มีข้อมูลไม่มาก
ส่วนใหญ่ที่นิยมนํามาประยุกต์ใช้งานกับบริษัทขนาดกลาง เช่น ระบบบัญชี
4. Micro Computer หรือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุด
ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีขนาดเล็ก นํ้าหนักเบา ราคาไม่แพง
สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
http://www.learners.in.th/:http://forum.datatan.net/index.php/topic,143.0.html:http://forum.datatan.net/index.php/topic,143.0.htmlหน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง ( CPU : Central Processing Unit ) หรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผล (Output Unit) มีหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล ที่ผ่านการประมวลผลในรูปของ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือ เสียง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลได้แก่ จอภาพ(Monitor) สำหรับแสดงตัวอักษรและรูปภาพ เครื่องพิมพ์ (Printer) สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง ออกทางกระดาษพิมพ์ ลำโพง (Speaker) แสดงเสียงเพลงและคำพูด เป็นต้น
หน่วยความจำ (Memory Unit)
หน่วยความจำ (Memory Unit) มีหน้าที่ในการจำข้อมูล ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดคือ หน่วยความถาวร (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้ตลอดเวลา
หน่วยความจำสำรอง (Storage Unit)
หน่วยความจำสำรองคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป เนื่องจากหน่วยความจำแรม จำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดไฟ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป จะต้องบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำสำรอง
ที่มาของรูป:
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น